เมนู

โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ 7.
สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นอากิญจัญญายตนะ โดยคำนึง
เป็นอารมณ์ว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มี เพราะล่วงวิญญาณัญจายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นสัตตาวาสชั้นที่ 8.
สัตว์พวกหนึ่งผู้เข้าถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญยตนะ เพราะ
ล่วงอากัญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เป็นสัตตาวาสชั้นที่ 9
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสัตตาวาส 9 ชั้นนี้แล.
จบ ววัตถสัญญาสูตรที่ 4

อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ 4


สัตตสัญญาสูตรที่ 4

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สตฺตาวาสา ได้แก่ที่อยู่ของสัตว์ทั้งหลาย อธิบายว่า
ที่เป็นที่อยู่. ในบทนั้นแม้สุทธาวาสก็เป็นสัตตาวาสเหมือนกัน แต่
ท่านมิได้จัดไว้ เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด. ด้วยว่า
สุทธาวาสเป็นเช่นกับที่พักของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อพระ-
พุทธเจ้ามิได้ทรงอุบัติตลอดอสงไขยกัป ที่นั้นก็ว่างเปล่า เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงไม่จัดไว้เพราะสุทธาวาสมิได้มีตลอดกาลทั้งหมด.
บทที่เหลือในสูตรนี้ พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว ในวิญญาณฐิติ
นั้นแล.
จบ อรรถกถาสัตตสัญญาสูตรที่ 4

5. สิลายูปสูตร


ว่าด้วย (ปฐม) ผู้จบพรหมจรรย์


[229] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต
ให้ดีด้วยปัญญา ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจ
อื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอบรมจิตใหญ่ด้วยปัญญาอย่างไร
ภิกษุอบรมจิตให้ดีด้วยปัญญาอย่างนี้ว่า จิตของเราปราศจาก
ราคะแล้ว จิตของเราปราศจากโทสะเเล้ว จิตของเราปราศจาก
โมหะแล้ว จิตของเราไม่มีราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโทสะ
เป็นธรรมดา จิตของเราไม่มีโมหะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียน
มาเพื่อรูปราคะเป็นธรรมดา จิตของเราไม่เวียนมาเพื่อรูปราคะ
เป็นธรรมดา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในกาลใดแล ภิกษุอบรมจิต
ให้ดีด้วยปัญญาแล้ว ในกาลนั้น ควรเรียกภิกษุนั้นว่า ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มี.
จบ ปฐมสิลายูปสูตรที่ 5